กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน 2005 (กิจกรรมระหว่างมหาวิทยาลัย เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อาทิ การจัดการแข่งขันกีฬา งานด้านวิชาการ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจัดงานระหว่างคณะเดียวกัน ในแต่ละมหาวิทยาลัยอีกด้วย งานกีฬาอีสานสัมพันธ์ กีฬาอีสานสัมพันธ์ เป็นการแข่งกีฬาพื้นบ้าน ของนิสิตนักศึกษาจากชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสาน ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งรวมกลุ่มกันในนาม สหพันธ์นิสิตนักศึกษาอีสานแห่งประเทศไทย จัดขึ้นเพื่อสร้างความสมัครสมานสามัคคี เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตนักศึกษาสถาบันต่างๆ และเป็นการปลูกฝังให้นิสิตนักศึกษาเกิดสำนึกรักบ้านเกิด กิจกรรมช่วงกลางวันเป็นการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน และกีฬาสากล ช่วงเย็นจะมีงานเลี้ยงสังสรรค์ในลักษณะของงานพาแลง มีการแสดงดนตรีพื้นเมืองอีสาน วงโปงลาง วงดนตรีลูกทุ่ง งานกีฬาอีสานสัมพันธ์ จัดขึ้นปีละ 1 ครั้ง โดยให้ชมรมศิลปวัฒนธรรมอีสานของแต่ละมหาวิทยาลัยผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ งานคอนเสิร์ตประสานเสียงสามสถาบัน จุฬาฯ เกษตรศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (CKT) คอนเสิร์ตประสานเสียงสามสถาบัน จุฬาฯ เกษตรศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (CKT) เป็นการแสดงคอนเสิร์ตร่วมขับร้องเพลงประสานเสียงถ่ายทอดเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพลงไทยร่วมสมัย และเพลงสากลอมตะ ของ 3 สถาบันที่ได้รับพระราชทานเพลงจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ งานเทา-งามสัมพันธ์ กิจกรรมเทา-งามสัมพันธ์ เกิดขึ้นหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตต่างๆ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยทักษิณ แม้ว่าวิทยาเขตต่างๆ จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ แต่ด้วยความตระหนักถึงความผูกพันของทั้ง 5 มหาวิทยาลัย จึงได้ร่วมมือกันจัดงานเทา-งามสัมพันธ์ ขึ้น โดยใช้สี เทา ซึ่งเป็นสีประจำโดยรวมของทุกวิทยาเขตเป็นพื้นฐาน และเพิ่มคำว่า งาม ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายและมีคุณค่ายิ่ง มีความหมายรวมเป็น เทา-งามสัมพันธ์ ซึ่ง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา หรือมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยมีรูปแบบกิจกรรมที่เน้นด้านกีฬาและด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก
ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 อธิการบดีทั้ง 5 มหาวิทยาลัย ได้เล็งเห็นความสำคัญต่อภารกิจของมหาวิทยาลัยและประเทศชาติ จึงได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งามสัมพันธ์ เป็นต้นมา ซึ่งมีข้อตกลงชัดเจนใน 4 ด้านคือด้านการวิจัย ด้านการบริหารวิชาการแก่สังคม ด้านการสร้างความสามัคคีระหว่างมหาวิทยาลัยในเครือเทา-งาม ตลอดจนถึงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการกีฬา และด้านการพัฒนาองค์กรบริหาร การจัดการและวิชาการร่วมกั ฟุตบอลยูลีก หรือ ไทยแลนด์ยูนิเวอร์ซิตี้ลีก เป็นการแข่งขันฟุตบอล ระหว่างทีมฟุตบอลของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2540 และจัดต่อเนื่องกันมาทุกปี งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ หรือ งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ เป็นการจัดการแข่งขันฟุตบอลประเพณี ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่าง ทีมฟุตบอล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งจัดการแข่งขันต่อเนื่องกันมายาวนานกว่า 70 ปีแล้ว งานรักบี้ประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ หรือ งานรักบี้ประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ เป็นการแข่งขันรักบี้ประเพณี ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือถ้วย มหิดล ระหว่าง ทีมรักบี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการแข่งขันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2480
งานกีฬาเหล่า การแข่งขันกีฬาของนักเรียนเหล่าทั้ง 4 เหล่าทัพ อันได้แก่ นักเรียนนายร้อย นักเรียนนายเรือ นักเรียนนายเรืออากาศ และนักเรียนนายร้อยตำรวจ โดยแข่งขันด้วยกีฬา 4 ประเภท ได้แก่ รักบี้ ฟุตบอล บาสเก็ตบอล และกรีฑา งานกีฬาและฟุตบอลประเพณี 3 พระจอมเกล้า ( THREE KING MONGKUT’S TRADITIONAL FOOTBALL AND GAMES )
งานกีฬาและฟุตบอลประเพณี 3 พระจอมเกล้า ประเพณี 3Kซึ่งจะถูกจัดขึ้นในทุกปี เป็นการแข่งขันกีฬาและฟุตบอล ของนักศึกษา สถาบันการศึกษาพระจอมเกล้วทั้ง 3 ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี KMUTT มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ KMUTNB และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง KMITL เพื่อความสามัคคี และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของชาวพระจอมเกล้าฯ ทั้ง 3 สถาบัน/มหาวิทยาลัย อีกทั้งเป็นโชว์ศักย์ภาพ ของมหาวิทยาลัย ที่เป็นเจ้าภาพอีก ซึ่งจะจัดเวียนกันไปทั้ง 3 สถาบัน/มหาวิทยาลัย นอกจากนั้นจุดเด่นของงานยังเป็นการแสดงโชว์ของหลีดของทั้ง 3 สถาบัน/มหาวิทยาลัย ซึ่งจะซ้อมหนักกันมาแรมปี และ ที่ลืมไม่ได้คือ กองสันทนาการ (หลัก) ของทั้ง 3 สถาบัน/มหาวิทยาลัย ได้แก่ Alumilize KMUTT, Devil Team KMUTNB, Phoenix Nokfire KMITL ที่จะมาคอยสร้างสีสันให้แก่งาน และยังถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากงานสัมพันธ์อื่นๆ อีกด้วย เพลง ประจำการแข่งขัน เพลง ลูกพระจอมเกล้ งานกีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย กีฬามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลแห่งประเทศไทย เป็นการแข่งขันกีฬาระดับมหาวิทยาลัย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่งทั่วประเทศ มีกำหนดจัดเป็นประจำทุกปี โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ งานกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างเหล่านิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยเริ่มต้นจัดการแข่งขันครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2513 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการแข่งขัน 8 มหาวิทยาลัย มีการจัดการแข่งขันมาแล้วรวม 37 ครั้ง โดยปัจจุบันในครั้งที่ 38 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขัน
งานกีฬาอุดมศึกษา ภาคตะวันออก กีฬาเกียร์อีสานสัมพันธ์เป็นการแข่งขันกีฬาของนิสิต นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดปีเว้นปี โดยครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่ ม.อุบลราชธานี ใช้ชื่อการแข่งขันว่า กรันเกราเกมส์ มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมทำการแข่งขัน 3 สถาบัน ได้แก่ ม.ขอนแก่น ม.มหาสารคาม และ ม.อุบลราชธานี โดยมี นายอดุลย์เดช น้อยมิ่ง เป็นประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่ ม.ขอนแก่น ใช้ชื่อการแข่งขันว่า มอดินแดงเกมส์ โดยมี นายสิทธิชัย ยินดีชาติ เป็นประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน ปัจจุบันมีสมาชิกเข้าร่วมทั้งหมด 7 สถาบัน ได้แก่ ม.ขอนแก่น ม.อุบลราชธานี ม.มหาสารคาม ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มทร.นครราชสีมา มทร.ขอนแก่น มทร.สกลนคร และในปี 2553 จะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ที่ ม.มหาสารคาม ใช้ชื่อการแข่งขันว่า จามจุรีเกมส์ โดยมี นายนัฐวัฒน์ เขจรจิตร เป็นประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน และในปี 2555 จะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 4 ที่ ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มทร.ขอนแก่น ซึ่งทั้งสองหาวิทยาลัย นี้ได้เป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันร่วมกัน โดยใช้ชื่อการแข่งขันว่า เสียงแคนดอกคูณเกมส์พร้อมกันนี้ทางองค์กรสมาชิกเกียร์อีสาน ได้ร่วมกันจัดตั้งองค์กรกิจกรรมกลาง ชื่อว่า สมาพันธ์นิสิต นักศึกษา วิศวกรรมศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นงานกีฬาของมหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกหรืออีกชื่อที่เรียกกันคือ งานกีฬา 5 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยศรีปทุม และ ศูนย์ฝึกพาณิชยนาวี สมุทรปราการ ครั้งล่าสุดครั้งที่ 14 <พ.ศ. 2553> มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชาเป็นเจ้าภาพ ภายใต้ชื่องานพิรุณเกมส์ กีฬา IE สัมพันธ์ เป็นการแข่งขันกีฬาของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการหรือเรียกสั้นๆว่า IE (INDUSTRIAL ENGINEER)ทั้ง 21 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศโดยจะมีการจัดการแข่งขันขึ้นทุกๆปีและจะมีการหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพทุกปีโดยครั้งล่าสุดจัดที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครเป็นเจ้าภาพ (27/11/53)โดยครั้งล่าสุดเป็นการจัดครั้งที่สิบแล้ว และเจ้าภาพครั้งต่อไปคือ มหาวิทยาลัยมหิดล รายนามมหาวิทยาลัยที่ร่วมการแข่งขันได้แก่ จุฬา ธรรมศาสตร์ เกษตรบางเขน เกษตรศรีราชา ราชมงคลธัญบุรี พระจอมเกล้าธนบุรี พระจอมเกล้าลาดกระบัง พระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหิดล ศิลปากร มศว ศรีปทุม รามคำแหง เทคโนโลยีมหานคร รังสิต สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร อีสเทอร์นเอเชีย ขอนแก่น เชียงใหม่ นเรศวร สยาม เพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชาว IE ทั่วประเทศ
ConneK หรือ Connections of CU and KU computer engineering students เป็นโครงการสานสัมพันธ์วิศวคอมพิวเตอร์ระหว่าง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แนวความคิด Connek ตอนแรกมีรูปแบบในการจัดคล้ายกับกีฬาประเพณีธรรมดาทั่วไปซึ่งทุกๆที่หรือทุกๆสถาบันจัดกันเพื่อสร้างสัมพัธไมตรีที่ดีต่อกันซึ่งการแข่งกีฬานั้นนับเป็นส่วนหนึ่งของาน ConneK เท่านั้น นอกเหนือจากกีฬาแล้วนั้นกิจกรรมหลักที่เป็น Hight light ของ ConneK ครั้งที่ 1 ครั้งนี้คือกิจกรรม Quest ซึ่งด้วยความจริงแล้วตัวกิจกรรมไม่ได้ Fix มากว่าจะต้องเป็นกิจกรรมเดิมๆซ้ำๆแต่เน้นการได้ทำงานร่วมกันอย่างละเป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวมครับ ซึ่งด้วยตัวกิจกรรมของการทำกิจกรรมหมู่ร่วมกันในรูปแบบของ Quest นั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นตัวแทนของการทำกิจกรรมด้วยกันอย่างแท้จริง โดยเน้นทุกคนช่วยกันทำทุกคนรวมเล่นทุกคน กีฬาวิศวกรรมเคมีสัมพันธ์ (CHEM ENG GMES) กีฬาวิศวกรรมเคมีสัมพันธ์ หรือCHEM ENG GAMESเป็นกีฬาเชื่อม ความสัมพันธ์ ของนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเคมี ทั่วประเทศ (มากกว่า 20 มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วม) ถูกจัดตั้งโดย นักศึกษาวิศวกรรมเคมี ของทุกมหาวิทยาลัย ซึ่งจะมีการจัดประชุมในเดือนตุลาคม และ จัดงานกีฬาในเดือนมกราคม ของทุกๆปี ลักษณะกิจกรรมจะเป็นการแข่งขันกีฬา กองเชียร์สันทนาการ ประกวดดาวเดือน และการโชว์ศักยภาพของเจ้าภาพในพิธีเปิด
คณะวิทยาศาสตร์ งานกีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย (Atom Games การแข่งขันกีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย หรือ อะตอมเกมส์ เริ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 โดยแกนนำกลุ่มนิสิต/นักศึกษาในขณะนั้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี สร้างความสามัคคี และความสนุกสนาน สนิทสนมคุ้นเคยกันระหว่างนิสิต/นักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์จากสถาบันต่างๆ ปัจจุบันมีสถาบัน/มหาวิทยาลัยสมาชิกที่เข้าร่วมการแข่งขันรวม 23 แห่ง และมีคณะกรรมการนิสิตนักศึกษาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย (กวส.) เป็นผู้ดูแลการจัดแข่งขันให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 23 มหาวิทยาลัย