ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร (อังกฤษ: Church Fathers, Fathers of the Church) ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรยุคแรก (Early Church Fathers) หรือ ปิตาจารย์ศาสนาคริสต์ (Christian Fathers) คือนักเทววิทยาที่มีบทบาทสำคัญในศาสนาคริสต์ยุคแรก ปิตาจารย์เหล่านี้มักเป็นอาจารย์หรือมุขนายกที่มีบทบาทสำคัญในยุคนั้น งานเขียนของปิตาจารย์ถือเป็นบรรทัดฐานความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนในศตวรรษต่อ ๆ มา ปิตาจารย์บางคนอาจไม่ใช่นักบุญ ไม่ได้รับศีลอนุกรม แต่ส่วนมากก็ได้รับความเคารพจากคริสตจักรต่าง ๆ ทั้งโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคันคอมมิวเนียน และลูเทอแรน ออริเจนและเทอร์ทิวเลียนเป็นสองปิตาจารย์ที่มีชื่อเสียงมาก แต่ก็ไม่ได้รับการประกาศเป็นนักบุญในคริสตจักรคาทอลิก ออริเจนแม้จะมีอิทธิพลมากในศาสนาคริสต์ตะวันออก แต่เนื่องจากเขาเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดจึงถูกประณามว่าเป็นพวกนอกรีต ส่วนเทอร์ทิวเลียนตอนแรกเป็นที่ยอมรับในคริสตจักรเพราะสนับสนุนแนวคิดตรีเอกภาพนิยม แต่ต่อมาได้รับแนวคิดของลัทธิมอนทานิสต์จึงถูกประณามว่าเป็นพวกนอกรีตเช่นกัน
ศาสนาคริสต์ยุคแรก (อังกฤษ: Early Christianity) หมายถึงศาสนาคริสต์ช่วงก่อนการสังคายนาที่ไนเชียครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 325) แบ่งออกได้เป็นสองยุคย่อย คือ สมัยอัครทูตและสมัยก่อนไนเซีย ตามที่ระบุในบทแรกของหนังสือกิจการของอัครทูต คริสต์ศาสนิกชนยุคแรกเป็นชาวยิวทั้งหมด ไม่ว่าโดยกำเนิดหรือมาเข้ารีตภายหลัง จึงเรียกกลุ่มนี้ว่าคริสต์ศาสนิกชนชาวยิว การประกาศข่าวดีในสมัยนั้นเป็นแบบมุขปาฐะและใช้ภาษาแอราเมอิก หนังสือ “กิจการของอัครทูต” และ “จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวกาลาเทีย” ระบุว่าในสมัยนั้นกรุงเยรูซาเลมเป็นศูนย์กลางของคริสตชน โดยมีซีโมนเปโตร ยากอบผู้ชอบธรรม และยอห์นอัครทูต เป็นผู้ปกครองชุมชนร่วมกัน ต่อมาเปาโลซึ่งเคยเป็นปฏิปักษ์กับคริสตชนได้กลับใจมารับเชื่อ และประกาศตนเป็น “อัครทูตมายังพวกต่างชาติ” และมีอิทธิพลอย่างมากต่อคริสตชนยิ่งกว่าผู้ปกครองท่านอื่น ๆ ที่ร่วมกันเขียนพันธสัญญาใหม่ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 1 ศาสนาคริสต์ก็เริ่มแยกตัวออกมาจากศาสนายูดาห์อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามคริสตชนยังคงยอมรับคัมภีร์ทานัคของศาสนายูดาห์เป็นพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ในภาคพันธสัญญาเดิม ในช่วงที่พันธสัญญาใหม่เพิ่งเข้าสารบบคัมภีร์ไบเบิล พระวรสารในสารบบ บทจดหมายของเปาโล และบทจดหมายของผู้ปกครองท่านอื่น ๆ เป็นที่ยอมรับมากและใช้อ่านในระหว่างการนมัสการพระเจ้าที่โบสถ์ ในคริสตจักร จดหมายของเปาโลมีอิทธิพลมากยิ่งกว่าธรรมบัญญัติของโมเสส ถึงขนาดเป็นรากฐานของเทววิทยาศาสนาคริสต์ในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามธรรมบัญญัติที่สำคัญ เช่น บัญญัติ 10 ประการ บัญญัติเอก คริสตนยุคแรกมีรายละเอียดความเชื่อและการปฏิบัติหลากหลายมาก ที่ถูกคริสตชนสมัยหลังกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตก็มี
ศีลอนุกรม (อังกฤษ: Holy Orders) หรือ ศีลบวช บางตำราเรียกว่าศีลบรรพชา เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ในหลายคริสตจักร ได้แก่ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน คริสตจักรอัสซีเรียนแห่งตะวันออก คาทอลิกเก่า อินดิเพนเดนต์คาทอลิก และบางส่วนของลูเทอแรน ศีลบวชเรียกว่าศีลอนุกรมเพราะมีการแต่งตั้งเป็นลำดับขั้น โดยเชื่อว่าพระเยซูเป็นผู้วางรากฐานศีลอนุกรมไว้ตั้งแต่สมัยยังดำรงพระชนม์บนโลก ดังเห็นได้จากการปกมือบนศีรษะของอัครทูตทั้ง 12 คนที่ทรงเลือกไว้ คริสตจักรคาทอลิกถือว่านี่คือศีลอนุกรมขั้นมุขนายกในปัจจุบัน คริสตจักรยังได้สืบทอดและเพิ่มเติมพิธีนี้เพื่อทำการแต่งตั้งบุคคลที่ได้รับคัดเลือกให้มีตำแหน่งหน้าที่ตามที่คริสตจักรกำหนดไว้ โดยเพิ่มอนุกรมจนมี 8 ขั้น 4 ขั้นแรกเรียกว่าอนุกรมน้อย (minor orders) ได้แก่ ขั้นผู้เฝ้าประตู (door keeper/porter) ขั้นผู้อ่านพระคัมภีร์ (lector) ขั้นผู้ขับไล่ปีศาจ (exorcist) ขั้นผู้ถือเทียน (acolyte)
ในปัจจุบันคริสตจักรคาทอลิกที่ถือจารีตละตินยังคงตำแหน่งผู้อ่านและผู้ถือเทียนในศาสนพิธี ส่วนที่เหลือถูกยกเลิกไป เหตุที่เรียกว่าอนุกรมน้อยเพราะผู้ที่รับอนุกรมขั้นเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องปฏิญาณถือโสดตลอดชีพอย่างสี่ขั้นหลังซึ่งเรียกว่าอนุกรมใหญ่ (major orders) อันได้แก่ ขั้นอุปพันธบริกร (subdiaconate) ขั้นพันธบริกร (diaconate) ขั้นบาทหลวง (priesthood) ขั้นมุขนายก (episcopate) เนื่องจากอนุกรมน้อยและขั้นอุปพันธบริกรเป็นอนุกรมที่คริสตจักรยุคหลังสถาปนาขึ้นเองจึงไม่นับว่าเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ ต่างจากสามขั้นสุดท้ายที่ปรากฏที่มาในคัมภีร์ไบเบิล ดังนั้นศีลอนุกรมในปัจจุบันจึงมีเพียงขั้นมุขนายก ขั้นบาทหลวง และขั้นพันธบริกรเท่านั้น ส่วนขั้นอัครมุขนายก (archiepiscopate) ไม่นับเป็นศีลอนุกรมเพราะอัครมุขนายกโดยตำแหน่งก็คือมุขนายก เพียงแต่ที่ได้รับผิดชอบมุขมณฑลที่สำคัญและปกครองทั้งภาคคริสตจักร ผู้ที่เคยเป็นมุขนายกมาแล้วเมื่อได้ดำรงตำแหน่งอัครมุขนายกจึงไม่ต้องทำรับศีลอนุกรมอีก เพียงแต่ทำพิธีเข้ารับตำแหน่งเท่านั้น
นิกายคาทอลิก นิกายคาทอลิก เช่น คริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และอีสเทิร์นคาทอลิก ให้เฉพาะผู้รับการอภิเษกเป็นบิชอปเท่านั้นต้องถือโสดตลอดชีพ แต่ไม่บังคับสำหรับผู้รับศีลขั้นพันธบริกรและบาทหลวง ในขณะที่คริสตจักรคาทอลิกจารีตละตินให้พันธบริกรถาวรแต่งงานได้ แต่พันธบริกรชั่วคราว (คือเตรียมบวชเป็นบาทหลวง) ตลอดจนบาทหลวงและบิชอปต้องถือโสดตลอดชีพ ทั้งสามคริสตจักรอนุญาตให้บุรุษเท่านั้นรับศีลอนุกรมได้ บรรดาผู้ที่ได้รับศีลอนุกรมแล้วจะเรียกว่าเคลอจี ศาสนบริกรผู้โปรดศีลอนุกรมได้มีเฉพาะบิชอปที่ผ่านพิธีอภิเษกแล้วเท่านั้น พระศาสนจักรคาทอลิก (อังกฤษ: Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีศาสนิกชนกว่า 1.3 พันล้านคนในปี ค.ศ. 2017 เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดที่ยังดำเนินกิจการอยู่ และมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตก พระสันตะปาปาทรงเป็นประมุขและปกครองศาสนจักรนี้ผ่านสันตะสำนัก ในศาสนจักรโรมันคาทอลิกประกอบด้วยคริสตจักรละตินและคริสตจักรคาทอลิกตะวันออก ชาวคาทอลิกเชื่อว่าพระเยซูมีพระมหาบัญชาตั้งศาสนจักรขึ้นให้เป็นหนึ่งเดียว ศักดิ์สิทธิ์ สากล และสืบมาจากอัครทูต ดยมีมุขนายกสืบทอดหน้าที่จากอัครทูต และพระสันตะปาปาสืบมาจากนักบุญเปโตร ซึ่งพระเยซูทรงยกเป็นเอกในบรรดาอัครทูต ศาสนจักรคาทอลิกให้ความสำคัญกับศีลมหาสนิทที่สุดในบรรดาศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด และฉลองศีลนี้ในพิธีมิสซา โดยเชื่อว่าไวน์และปังที่บาทหลวงเสกในพิธีนี้จะเปลี่ยนสารเป็นพระกายและพระโลหิตของพระเยซู และมีหลักคำสอนให้นับถือพระนางมารีย์พรหมจารีเป็นพระมารดาพระเจ้าและราชินีแห่งสวรรค์ นอกจากนี้ยังเชื่อในพระเมตตา การชำระให้บริสุทธิ์โดยความเชื่อ การประกาศพระวรสาร และทำงานเพื่อสังคม ศาสนจักรคาทอลิกจึงเป็นองค์กรเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่จัดการศึกษาและบริการสุขภาพ ในประเทศไทยเรียกคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกว่า “คริสตัง”