ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งโดโมดอสโซลา เป็นนักบุญและมรณสักขีในคริสต์ศาสนา เสียชีวิตเมื่อราว ค.ศ. 72 ใกล้เมืองเชนไนในประเทศอินเดีย นักบุญโธมัสเป็นหนึ่งในอัครทูตสิบสององค์ของพระเยซู ผู้เป็นที่รู้จักว่าเป็นผู้ที่ไม่เชื่อว่าพระเยซูคืนชีพหลังจากที่ทรงถูกตรึงกางเขนจริงเมื่อได้รับข่าว แต่เมื่อพระเยซูมาทรงปรากฏตัวโธมัสก็อุทานว่า “My Lord and my God” นักบุญทอมัสเป็นผู้เดียวในบรรดาอัครทูตที่ได้เดินทางไปเผยแพร่ศาสนานอกจักรวรรดิโรมัน รวมทั้งราชอาณาจักรเปอร์เชีย รัฐเกรละ (ในอินเดียปัจจุบัน) และประเทศจีน
นักบุญโธมัสในพระวรสารนักบุญยอห์น นักบุญโธมัสปรากฏสองสามครั้งในพระวรสารนักบุญยอห์น หลังจากนักบุญลาซารัสเพิ่งเสียชีวิต สาวกหลายคนของพระเยซูไม่เห็นด้วยกับการที่จะทรงเดินทางกลับไปยูเดียซึ่งเป็นที่ที่โดนชนยิวโจมตีโดยการปาก้อนหิน แต่พระองค์ยังทรงต้องการเสด็จไป นักบุญโธมัสจึงกล่าวด้วยความกล้าหาญว่า “เราไปด้วยกันเถอะ และเราอาจจะตายกับพระองค์” นอกจากนั้นนักบุญโธมัสยังพูดในโอกาส พระกระยาหารค่ำมื้อสุดท้าย เมื่อพระเยซูทรงย้ำว่าทรงทราบว่าจะเสด็จไปไหนแต่นักบุญโธมัสประท้วงว่าไม่มีใครทราบจุดหมาย พระเยซูทรงตอบนักบุญโธมัสและนักบุญฟีลิปอัครทูตที่ถามถึงความสัมพันธ์ของพระเยซูและพระเจ้าผู้เป็นพระบิดา แต่ฉากที่สำคัญที่สุดของนักบุญโธมัสเป็นฉากในพันธสัญญาใหม่ ที่นักบุญโธมัสมีความสงสัยในการคืนพระชนม์ของพระเยซูและขอพิสูจน์โดยการสัมผัสรอยแผลของพระองค์ก่อนที่จะยอมเชื่อที่เห็นได้จากภาพวาด “ความสงสัยของนักบุญโธมัส” โดย คาราวัจโจ เรื่องนี้เป็นที่มาของวลี “ทอมัสขี้สงสัย” (Doubting Thomas) หลังจากที่เห็นว่าพระเยซูฟื้นขึ้นมาจริง (พระคัมภีร์ไบเบิลมิได้ระบุว่านักบุญทอมัสแตะแผลพระเยซู) นักบุญโธมัสก็อุทานว่า “My Lord and my God” และถูกเรียกว่า “โธมัสผู้มีความเชื่อ”
ในศาสนาคริสต์ มรณสักขี (อังกฤษ: martyr) หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนที่ถูกทรมานจนตายหรือถูกฆ่าหรือถูกลงโทษให้ประหารชีวิตเพราะความเชื่อ ในศาสนาคริสต์ยุคแรกมีผู้ถูกทรมานและฆ่าด้วยความทรมานต่างๆเช่นถูกขว้างด้วยก้อนหินให้ตาย ถูกตรึงกางเขน ถูกเผาทั้งเป็น และอื่น ๆ คำว่า “martyr” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “พยาน” การฆ่าเช่นนี้เป็นผลจากการพยายามกำจัดคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการ (การเบียดเบียนทางศาสนา) เช่นในสมัยจักรวรรดิโรมันก่อนที่คริสต์ศาสนาจะเป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมาย คริสต์ศาสนิกชนคนแรกที่เป็นมรณสักขีคือนักบุญสเทเฟนที่บันทึกไว้ใน ถูกขว้างด้วยก้อนหินจนถึงแก่ชีวิตเพราะศรัทธาในพระเยซูว่าเป็นพระเมสสิยาห์ และยังคงมีคริสต์ศาสนิกชนอีกหลายคนที่ถูกฆ่านอกจากนักบุญสเทเฟน ตามที่นักบุญเปาโลอัครทูตกล่าวว่ามีการขู่จะฆ่าสาวกของพระเยซูในเวลานั้นหลายครั้ง ในคริสต์ศตวรรษต่อมาก็มีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการอีกหลายครั้งเช่นในระหว่างการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตหรือเป็น “พวกนิยมพระสันตะปาปา” (Papists)
มรณสักขีในสมัยอัครทูต (คริสต์ศตวรรษที่ 1)
นักบุญสเทเฟน “ปฐมมรณสักขี” (Protomartyr) ถูกขว้างด้วยก้อนหินจนตาย ราวปี ค.ศ. 35
นักบุญยากอบ บุตรเศเบดี ถูกตัดหัวราวปี ค.ศ. 44
นักบุญฟีลิปอัครทูต ถูกตรึงกางเขนเมื่อปี ค.ศ. 54
นักบุญมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร ถูกฆ่าด้วยหอกหัวขวานเมื่อปี ค.ศ. 60
นักบุญยากอบผู้ชอบธรรม ถูกซ้อมตายด้วยพลองหลังจากถูกตรึงกางเขนและขว้างด้วยหิน
นักบุญมัทธีอัส ถูกขว้างด้วยก้อนหินและตัดหัว
นักบุญอันดรูว์ ถูกตรึงบนกางเขนรูป “X”
นักบุญมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร ถูกซ้อมตาย
นักบุญซีโมนเปโตร ถูกตรึงกางเขนหงายเท้า
นักบุญเปาโลอัครทูต ถูกตัดหัวที่โรม
นักบุญยูดาอัครทูต ถูกตรึงกางเขน
นักบุญบารโธโลมิวอัครทูต ถูกตรึงกางเขน
นักบุญโธมัสอัครทูต ถูกฆ่าด้วยหอก
นักบุญลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร ถูกแขวนคอ
นักบุญซีโมนเศโลเท ถูกตรึงกางเขนเมื่อปี ค.ศ. 74
นักบุญ หมายถึง ผู้ศักดิ์สิทธิ์ ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่าธรรมิกชนหรือผู้บริสุทธิ์ แต่ละนิกายในศาสนาคริสต์อธิบายลักษณะของเซนต์แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะถือตามคัมภีร์ไบเบิลที่ระบุว่าเซนต์หมายถึงบุคคลใด ๆ ไม่ว่าบนโลกมนุษย์หรือบนสวรรค์ ที่ได้รับการชำระให้บริสุทธิ์ มีชีวิตอยู่ในพระคริสต์ และเป็นผู้ที่พระคริสต์ทรงประทับอยู่ เป็นผู้ที่พระเจ้าทรงแยกไว้ต่างหากเพื่อเป็นชนชาติที่บริสุทธิ์ของพระองค์ ในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และโรมันคาทอลิกถือว่าคริสต์ศาสนิกชนทั้งหมดที่อยู่บนสวรรค์เป็นนักบุญ แต่แต่ละองค์จะได้รับเกียรติ ถูกยึดถือเป็นแบบอย่าง และรับความเคารพไม่เท่ากัน ในคัมภีร์ไบเบิล มีหลายคนถูกเรียกว่าเป็นเซนต์ เช่น อาโรน ซึ่งถูกเรียกว่าเป็นคนบริสุทธิ์ของพระยาห์เวห์ ส่วนในจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวเอเฟซัส เปาโลอัครทูตก็ประกาศว่าตนเองเป็น “คนเล็กน้อยยิ่งกว่าคนเล็กน้อยที่สุดในพวกธรรมิกชนทั้งหมด” ในปัจจุบันคำว่า “เซนต์” ยังอาจใช้หมายถึงผู้ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาอื่น ๆ ด้วย เช่น ซาดิคในศาสนายูดาห์ พระอริยบุคคลในศาสนาพุทธ ฤๅษีหรือคุรุในศาสนาฮินดู วะลีย์ในศาสนาอิสลาม เป็นต้น