เรีย หรือ เรอา (อังกฤษ: Rhea, เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /rɪə, ˈriːə/) เป็นเทพีไททัน ซึ่งเป็นธิดาของเทพยูเรนัสกับเทพีไกอา พระนางแต่งงานกับโครนัส เทพไททันผู้เป็นพี่ชาย และได้รับการขนานนามว่า “เทพมารดา” รูปเคารพของเทพีเรียมักอยู่คู่กับสิงโตอยู่เสมอ พระนางเป็นมารดาของเทพโอลิมเปียทั้ง 6 องค์จาก 12 องค์ตามตำนานกรีกกล่าวว่าเรียเป็นธิดาของเทพีไกอาและเทพยูเรนัส เป็นหนึ่งในเหล่าเทพไททันที่ถูกเทพยูเรนัสผู้เป็นบิดาโยนลงไปในทาทะรัสพร้อมกับเหล่าอสุรกาย และได้กลับขึ้นมาบนพื้นพิภพอีกครั้งเมื่อโครนัส ไททันองค์สุดท้องอาสาปราบยูเรนัสและยึดอำนาจของยูเรนัสมาเป็นของเหล่าไททัน ส่วนในตำนานของชาวเพลาสกันได้กล่าวว่ายูริโนมี เทพีองค์แรกได้ถือกำเนิดขึ้นและสร้างเหล่าไททันขึ้น เรียเป็นหนึ่งในไททัน มีหน้าที่ดูแลดาวเสาร์ร่วมกับโครนัสผู้ป็นสามี เรียและโครนัส ภายหลังจากการกอบกู้เหล่าไททันของโครนอส โครนัสก็ได้แต่งตั้งให้เรียเป็นชายา และเป็นราชินีของเทพทั้งปวง แต่เนื่องจากหลังจากโครนัสได้กำจัดยูเรนัสลงแล้ว ไม่ได้ช่วยเหลือเหล่าอสุรกายผู้เป็นบุตรของไกอาดังที่สัญญากับไกอาไว้ ไกอาจึงสาปให้บุตรของโครนอสที่เกิดจากเรียช่วงชิงบัลลังก์ของโครนอส เช่นเดียวกับที่โครนอสได้ช่วงชิงบัลลังก์จากยูเรนัส บุตรของเรีย เนื่องจากคำสาปของไกอา โครนอสจึงหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลาและเมื่อเรียคลอดบุตรออกมา โครนอสก็กลืนเทพที่ถือกำเนิดขึ้นมานั้นลงไปทั้งตัว เรียได้แต่เคียดแค้น จนเมื่อบุตรองค์สุดท้องของเรียถือกำเนิดขึ้น นางก็ได้นำเทพองค์นั้น หรือซุส ไปซ่อนไว้ที่ภูเขาไอดา โดยฝากให้ไกอาเป็นผู้ดูแล และฝึกฝนซุสให้กลับไปแก้แค้นโครนัสผู้เป็นบิดา และช่วยเหลือเหล่าเทพโอลิมเปียนบุตรของนางออกมาจากท้องของโครนอสในศาสนากรีกโบราณ เฮสเตีย (อังกฤษ: Hestia; กรีกโบราณ: Ἑστία, “เตาอิฐ” หรือ “บริเวณข้างเตาไฟ”) ทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งเตาอิฐ สถาปัตยกรรมกรีกโบราณ และการจัดระเบียบกิจกรรมในบ้าน ครอบครัวและรัฐที่ถูกต้อง ในเทพปกรณัมกรีก พระนางเป็นธิดาของโครนัสและเรีย
เฮสเตียทรงได้รับของบูชาที่ทุกการบวงสรวงในครัวเรือน ในที่สาธารณะ เตาอิฐของพริทเนียม (prytaneum) เป็นเสมือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการของพระนาง เมื่อมีการก่อตั้งอาณานิคมใหม่ เพลิงจากเตาอิฐสาธารณะของเฮสเตียในนครแม่จะถูกนำไปยังนิคมใหม่ด้วย พระนางประทับนั่งบนบัลลังก์ไม้เรียบ ๆ โดยมีเบาะขนแกะสีขาว และไม่ทรงเลือกสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ภาคโรมันของพระนาง คือ เวสตา เฮสเตียทรงเป็นเทพเจ้าโอลิมปัสรุ่นแรก ร่วมกับดีมิเทอร์และฮีรา พระนางเป็นธิดาแห่งไททันโครนัสและเรีย พระเชษฐภคินีแห่งเฮดีส ดีมิเทอร์ โพไซดอน ฮีราและซูส โครนัสกลืนบุตรธิดาของตนทั้งหมดทันทีหลังคลอด ยกเว้นซูสบุตรคนสุดท้อง ต่อมาซูสบังคับให้โครนัสคายพี่น้องของพระองค์และทรงนำในสงครามกับบิดาและไททันอื่น เฮสเตียทรงเป็น “พระองค์แรกที่ถูกกลืนกิ และพระองค์สุดท้ายที่ถูกขับออกอีกครั้ง” พระองค์จึงเป็นทั้งธิดาพระองค์แรกและพระองค์สุดท้าย การผกผันตำนานนี้พบในเพลงสวดสรรเสริญแอโฟรไดทีของกวีโฮเมอร์ (700 ปีก่อน ค.ศ.) เฮสเตียทรงปฏิเสธการเกี้ยวพาราสีของโพไซดอนและอพอลโล และทรงสาบานพระองค์เป็นพรหมจรรย์ตลอดกาล ซูสทรงบัญชาให้เฮสเตียทำหน้าที่เลี้ยงและรักษาไฟในเตาไฟโอลิมปัสด้วยส่วนที่ติดมันและติดไฟได้ของสัตว์ที่บูชาแด่พระเจ้า สถานภาพเทพเจ้าโอลิมปัสของเฮสเตียนั้นกำกวม Kenneth Dorter บันทึกว่า ในเอเธนส์ ใน “ชีวิตของเพลโต” “มีข้อแตกต่างกันในรายพระนามพระเจ้าหลักสิบสองพระองค์ว่าจะรวมเฮสเตียหรือไดอะไนซัสเข้ากับอีกสิบเอ็ดพระองค์ที่เหลือ ตัวอย่างเช่น แท่นบูชาพระเจ้าที่อโกรา มีแท่นบูชาของเฮสเตีย แต่ที่แถบลายตกแต่งตะวันออกของวิหารพาร์เธนอนกลับมีแท่นบูชาของไดอะไนซัส” บางครั้งถือกันว่าการละเว้นเฮสเตียออกจากรายพระนามเทวสภาโอลิมปัสเป็นนิทัศน์ของธรรมชาติไม่โต้ตอบและไม่เผชิญหน้าของพระนาง โดยทรงยกบัลลังก์โอลิมปัสให้แก่ไดอะไนซัสเพื่อป้องกันความขัดแย้งบนสวรรค์ เฮสเตียเป็นที่รู้จักกันในความเมตตา แต่ไม่มีแหล่งข้อมูลหรือตำนานโบราณอธิบายการยอมจำนนหรือการถอนพระองค์นี้ Burkert ให้ข้อคิดเห็นว่า “เนื่องจากเตาอิฐไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เฮสเตียจึงไม่อาจมีส่วนแม้ในกระบวนการแห่งพระเจ้า โดยทรงปล่อยการเล่นตลกอื่นของเทพเจ้าโอลิมปัสไว้” สถานภาพทางเทพปกรณัมของพระองค์ที่เป็นธิดาหัวปีของเรียและโครนัสเหมือนจะอธิบายประเพณีที่ว่าของบูชาเล็กน้อยส่วนหนึ่งถวายแด่เฮสเตียก่อนการบูชาอื่นทั้งหมด (“เฮสเตียทรงมาก่อน”)
ความกำกวมในเทพปกรณัมของเฮสเตียตรงกับลักษณะประจำ บุคลิกและการบรรยายที่คลุมเครือของพระองค์ พระนางทรงถูกระบุด้วยเตาอิฐซึ่งเป็นวัตถุรูปธรรม และภาวะนามธรรมของชุมชนและกิจกรรมในบ้าน แต่ภาพของพระนางนั้นหายากและไม่ค่อยปลอดภัย ในศิลปะกรีกคลาสสิก บางครั้งมีผู้วาดพระนางเป็นสตรี มีผ้าคลุมศีรษะอย่างเรียบง่ายและถ่อมพระองค์ บางครั้งแสดงภาพพระนางมีไม้เท้าในพระหัตถ์หรือประทับอยู่ข้างกองไฟขนาดใหญ่ เมื่อสาธารณรัฐโรมันขยายตัวมาจนถึงจุดที่รัฐบาลกลางในกรุงโรมไม่สามารถปกครองดินแดนที่อยู่ไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะปัญหาในด้านการติดต่อและการคมนาคมเพราะระยะทางที่ไกลจากจุดหมายต่าง ๆ ภายในจักรวรรดิ ข่าวสารการรุกราน, การปฏิวัติ, ความหายนะทางธรรมชาติ หรือโรคระบาดใช้การสื่อสารทางเรือหรือโดยระบบการสื่อสารโรมัน (Cursus publicus) ที่ใช้เวลานานกว่าจะมาถึงกรุงโรม หรือคำสั่งจากโรมไปยังดินแดนต่าง ๆ ฉะนั้นข้าหลวงโรมัน (Roman Governor) ในจังหวัดอาณานิคมก็มักจะปกครองในนามของสาธารณรัฐโรมันโดยปริยาย ก่อนหน้าที่จะตั้งตัวเป็นจักรวรรดิ ดินแดนของสาธารณรัฐโรมันเป็นการปกครองของระบบสามประมุขครั้งที่สอง (Second Triumvirate) ที่แบ่งระหว่างอ็อคเตเวียน, มาร์ค แอนโทนี และมาร์กุส ไอมิลิอุส แลปิดุส มาร์ค แอนโทนีครอบครองจังหวัดทางตะวันออก: จังหวัดอาเคีย (Achaea), จังหวัดมาเซโดเนีย และ บริเวณเอพิรัส (ทางตอนเหนือของกรีซ), บิธิเนีย (Bithynia), พอนทัส (Pontus) และจังหวัดในเอเชียของโรมัน (ตุรกีปัจจุบัน), ซีเรีย, ไซปรัส, และไซเรนาอิคา (Cyrenaica) ดินแดนเหล่านี้เดิมพิชิตมาโดยอเล็กซานเดอร์มหาราช ฉะนั้นผู้ครอบครองบริเวณนั้นจึงมีเชื้อสายกรีก บริเวณทั้งหมดโดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ รับวัฒนธรรมกรีกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมท้องถิ่น ภาษาที่ใช้จึงเป็นภาษาทางราชการ
สาธารณรัฐโรมัน ก่อนการพิชิตของอ็อคเตเวีย อ็อคเตเวียนได้จังหวัดทางตะวันตก: จังหวัดโรมันอิตาเลีย (อิตาลีปัจจุบัน), กอล (ฝรั่งเศสปัจจุบัน), กาลเลียเบลจิคา (ส่วนหนึ่งของเบลเยียม, เนเธอร์แลนด์ และ ลักเซมเบิร์กปัจจุบัน) และ ฮิลปาเนีย (สเปนและโปรตุเกสปัจจุบัน) และรวมทั้งอาณานิคมกรีกและคาร์เธจในบริเวณริมฝั่งทะเล แลปิดุสได้รับดินแดนในอาฟริกาประมาณทางตอนเหนือของตูนิเซีย แต่อ็อคเตเวียนยึดอาฟริกาจากแลปิดุส และเพิ่มอาณานิคมซิลิคา (ซิซิลีปัจจุบัน) เข้ามาอยู่ในอำนาจการปกครอง เมื่อได้รับชัยชนะต่อมาร์ค แอนโทนีแล้ว อ็อคเตเวียนก็รวมดินแดนต่าง ๆ ก่อตั้งเป็นจักรวรรดิโรมัน แม้ว่าจักรวรรดิโรมันจะมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองหลายอย่างแต่กระนั้นก็ยังประสบกับกระบวนการการเป็นโรมัน (Romanization) ทางตะวันออกเป็นวัฒนธรรมกรีกที่มีอิทธิพล และทางตะวันตกวัฒนธรรมละตินซึ่งทั้งสองวัฒนธรรมก็อยู่คู่กันอย่างมีประสิทธิภาพในรูปของการปกครองอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งทางการเมืองและทางการทหาร จักรวรรดิไบแซนไทน์ (อังกฤษ: Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (กรีก: Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรวรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า “จักรวรรดิไบแซนไทน์” และ “จักรวรรดิโรมันตะวันออก” เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า “จักรวรรดิโรมัน” หรือ “โรมาเนีย” เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน ค.ศ. 1453 ในสมัยที่ยังมีจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่นั้น จักรวรรดิเป็นชาติที่มีเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและกำลังทหารแข็งแกร่งที่สุดในยุโรป
รูปเคารพของเทพีเรียมักอยู่คู่กับสิงโตอยู่เสมอ พระนางเป็นมารดาของเทพโอลิมเปียทั้ง 6 องค์จาก 12 องค์ตามตำนานกรีกกล่าวว่าเรียเป็นธิดาของเทพีไกอาและเทพยูเรนัส เป็นหนึ่งในเหล่าเทพไททันที่ถูกเทพยูเรนัสผู้เป็นบิดาโยนลงไปในทาทะรัสพร้อมกับเหล่าอสุรกาย และได้กลับขึ้นมาบนพื้นพิภพอีกครั้งเมื่อโครนัส ไททันองค์สุดท้องอาสาปราบยูเรนัสและยึดอำนาจของยูเรนัสมาเป็นของเหล่าไททัน ส่วนในตำนานของชาวเพลาสกันได้กล่าวว่ายูริโนมี เทพีองค์แรกได้ถือกำเนิดขึ้นและสร้างเหล่าไททันขึ้น เรียเป็นหนึ่งในไททัน มีหน้าที่ดูแลดาวเสาร์ร่วมกับโครนัสผู้ป็นสามี เรียและโครนัส ภายหลังจากการกอบกู้เหล่าไททันของโครนอส โครนัสก็ได้แต่งตั้งให้เรียเป็นชายา และเป็นราชินีของเทพทั้งปวง แต่เนื่องจากหลังจากโครนัสได้กำจัดยูเรนัสลงแล้ว ไม่ได้ช่วยเหลือเหล่าอสุรกายผู้เป็นบุตรของไกอาดังที่สัญญากับไกอาไว้ ไกอาจึงสาปให้บุตรของโครนอสที่เกิดจากเรียช่วงชิงบัลลังก์ของโครนอส เช่นเดียวกับที่โครนอสได้ช่วงชิงบัลลังก์จากยูเรนัส บุตรของเรีย เนื่องจากคำสาปของไกอา โครนอสจึงหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลาและเมื่อเรียคลอดบุตรออกมา โครนอสก็กลืนเทพที่ถือกำเนิดขึ้นมานั้นลงไปทั้งตัว เรียได้แต่เคียดแค้น จนเมื่อบุตรองค์สุดท้องของเรียถือกำเนิดขึ้น นางก็ได้นำเทพองค์นั้น หรือซุส ไปซ่อนไว้ที่ภูเขาไอดา โดยฝากให้ไกอาเป็นผู้ดูแล และฝึกฝนซุสให้กลับไปแก้แค้นโครนัสผู้เป็นบิดา และช่วยเหลือเหล่าเทพโอลิมเปียนบุตรของนางออกมาจากท้องของโครนอสในศาสนากรีกโบราณ เฮสเตีย (อังกฤษ: Hestia; กรีกโบราณ: Ἑστία, “เตาอิฐ” หรือ “บริเวณข้างเตาไฟ”) ทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งเตาอิฐ สถาปัตยกรรมกรีกโบราณ และการจัดระเบียบกิจกรรมในบ้าน ครอบครัวและรัฐที่ถูกต้อง ในเทพปกรณัมกรีก พระนางเป็นธิดาของโครนัสและเรีย