ภูเขาศักดิ์สิทธิ์แห่งกิฟฟา หนังสือกันดารวิถี (อังกฤษ: Book of Numbers; ฮีบรู: במדבר; กรีก: Αριθμοί) เป็นหนังสือเล่มที่ 4 ในเบญจบรรณ เนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของวงศ์วานอิสราเอลที่ต่อเนื่องมาจากหนังสืออพยพ หนังสือกันดารวิถีแปลมาจากคัมภีร์ฮีบรู (ฮีบรู: במדבר, ba-midbar) ซึ่งแปลว่า “ในถิ่นทุรกันดาร…” ซึ่งเป็นคำแรกของคัมภีร์ฉบับนี้ แต่ในภาษาอังกฤษ ใช้ชือว่า The Book of Numbers เนื่องจากหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงการทำสำมะโนประชากรอิสราเอลถึงสองครั้ง ที่ภูเขาซีนาย และที่โมอับ ในขณะที่ภาษาไทยใช้ชื่อว่า “หนังสือกันดารวิถี” เนื่องจากหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงพงศาวดารของอิสราเอลช่วงที่ต้องใช้ชีวิตในถิ่นทุรกันดาร (ทะเลทราย) เป็นเวลา 40 ปี ก่อนจะได้เข้าสู่แผ่นดินคานาอัน
เนื้อหาในหนังสือกันดารวิถีนี้ จะแบ่งส่วนสำคัญออกได้เป็น ส่วน
การนับอิสราเอลที่ภูเขาซีนาย (บทที่ 1-2)
การกำหนดงานให้แก่คนเลวี และพระบัญญัติเรื่องการถวายบูชา (บทที่ 3-9 บทที่ 17-19 บทที่ 28-30)
ออกเดินทางจากภูเขาซีนาย (บทที่ 10-12)
การสอดแนมแผ่นดินคานาอัน (บทที่ 13-16)
การเดินทางในถิ่นทุรกันดาร (บทที่ 20-25 บทที่ 27 บทที่ 31)
การแบ่งดินแดนอิสราเอล และการแต่งตั้งโยชูวา (บทที่ 32-36)
การนับอิสราเอลที่ภูเขาซีนาย จากหนังสืออพยพ เมื่อโมเสสได้รับพระบัญญัติของพระเจ้า ณ ภูเขาซีนายนั้น พระเจ้าทรงให้โมเสสตั้งผู้นำเผ่าทั้ง 12 ของอิสราเอลขึ้น และทำสำมะโนครัวประชากรอิสราเอลที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป โดยนับได้จำนวนทั้งสิ้น 603,550 คน แบ่งเป็น
เผ่ารูเบน จำวน 46,500 คน
เผ่าสิเมโอน จำนวน 59,300 คน
เผ่ากาด จำนวน 45,650 คน
เผ่ายูดาห์ จำนวน 74,600 คน
เผ่าอิสสาคาร์ จำนวน 54,400 คน
เผ่าเศบูลุน จำนวน 57,400 คน
เผ่าโยเซฟ
เผ่าเอฟราอิม จำนวน 45,000 คน
เผ่ามนัสเสห์ จำนวน 32,200 คน
เผ่าเบนยามิน จำนวน 35,400 คน
เผ่าดาน จำนวน 62,700 คน
เผ่าอาเชอร์ จำนวน 41,500 คน
เผ่านัฟทาลี จำนวน 53,400 คน
การกำหนดงานแก่คนเลวี ในการกำหนดงานแก่คนเลวีนั้น ได้แบ่งออกเป็นหน้าที่ตามวงศ์ (ชื่อบุตรชายของเลวี) ได้แก่วงศ์วานเกอร์โชน วงศ์วานโคอาท และวงศ์วานเมรารี โดยมีการกำหนดหน้าที่แตกต่างกัน โดยทรงกำหนดอายุของผู้เข้าปฏิบัติงานของคนเผ่าเลวี คือ ชายหนุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 30-50 ปี โดยวงศ์วานเผ่าเลวีมีดังนี้
- วงศ์วานเกอร์โชน มีจำนวนผู้ชายอายุ 1 เดือนขึ้นไปจำนวน 7,500 คน ต้องตั้งค่ายอยู่ข้างหลังพลับพลาด้านทิศตะวันตก โดยมีหน้าที่รับผิดชอบงานในพลับพลา ได้แก่ งานพลับพลา งานเต็นท์ พร้อมเครื่องเต็นต์ แท่นบูชา และสิ่งของทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้
- วงศ์วานโคอาท มีจำนวนผู้ชายอายุ 1 เดือนขึ้นไปจำนวน 8,600 คน ต้องตั้งค่ายอยู่ทางใต้ของพลับพลา มีหน้าที่ดูแลหีบพระโอวาท โต๊ะขนมปัง คันประทีป แท่นบูชาทั้งสอง และเครื่องใช้สถานนมัสการซึ่งปุโรหิตใช้งาน และม่าน
- วงศ์วานเมรารี มีจำนวนผู้ชายอายุ 1 เดือนขึ้นไปจำนวน 6,200 คน ต้องตั้งค่ายอยู่ด้านเหนือของพลับพลา มีหน้าที่ดูแลงานไม้กรอบพลับพลา ไม้กลอน ไม้เสา ฐานรองและเครื่องประกอบทั้งหมด เสารอบลานพลับพลา พร้อมกับฐานรองหลักหมุดและเชือกโยง
- บุคคลผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นปุโรหิต ได้แก่ โมเสส อาโรน และบุตรทั้งสองของอาโรน ตั้งค่ายอยู่ด้านหน้าของเต็นต์นัดพบ ด้านทิศตะวันออก มีหน้าที่ดูแลพิธีการภายในสถานนมัสการ และเมื่อเคลื่อนย้ายค่าย ปุโรหิตมีหน้าที่นำผ้าม่านมาห่อหุ้มบรรดาหีบพระโอวาท แท่นบูชา โต๊ะขนมปัง คันประทีป และสิ่งของทั้งสิ้นในพลับพลาตามที่พระเจ้าบัญชาไว้ แล้วจึงให้วงศ์วานโคอาทเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ต่อ แต่ห้ามมิให้คนโคอาทเข้ามาห่อหุ้มสิ่งของต่าง ๆ
การเคลื่อนพลออกจากภูเขาซีนาย ในการเคลื่อนพลออกจากภูเขาซีนาย อิสราเอลได้ออกเดินทางเป็นลำดับตามที่พระเจ้าตรัสสั่งโมเสสได้ดังนี้ ต้นขบวนนำโดยเผ่ายูดาห์ เผ่าอิสสาคาร์ เผ่าเศบูลุน และตามด้วยวงศ์วานเกอร์โชน และวงศ์วานเมรารี ตามลำดับ ต่อด้วยเผ่ารูเบน เผ่าสิเมโอน เผ่ากาด และตามด้วยวงศ์วานโคอาทตามลำดับ และปิดขบวนด้วย เผ่าเอฟราอิม เผ่ามนัสเสห์ เผ่าเบนยามิน เผ่าดาน เผ่าอาเชอร์ และเผ่านัฟทาลีเป็นลำดับสุดท้าย เมื่อเคลื่อนพลไปนั้น มีอุปสรรคระหว่างการเดินทาง เนื่องด้วยคนจำนวนมาก พระเจ้าจึงทรงให้โมเสสตั้งพวกผู้ใหญ่ 70 คน ช่วยโมเสสในบรรเทางานของโมเสสลง และครั้นเมื่ออิสราเอลเบื่อมานา พระเจ้าก็ทรงประทานนกคุ่มให้พวกเขา แต่เมื่อใดที่อิสราเอลโอดครวญ หรือกระทำการอันไม่เหมาะสม ก็จะได้รับการลงโทษจากพระเจ้าตามขนาดของเขา
ศาสนาคริสต์ (อังกฤษ: Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนา เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ไถ่ ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า “พระคริสต์” หรือ “พระเมสสิยาห์” ศาสนาคริสต์ปัจจุบันแบ่งเป็นสามนิกายใหญ่ คือ โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และโปรเตสแตนต์ ซึ่งยังแบ่งนิกายย่อยได้อีกหลายนิกาย เขตอัครบิดรโรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์แยกออกจากกันในช่วงศาสนเภทตะวันออก-ตะวันตก (East–West Schism) ใน ค.ศ. 1054 และนิกายโปรเตสแตนต์เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปศาสนาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งแยกตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก