แอโฟรไดที (อังกฤษ: Aphrodite, ออกเสียง: /ˌæfrəʊˈdaɪti/; กรีก: Ἀφροδίτη) เป็นพระเจ้าแห่งความรัก ความงาม สุขารมณ์และการให้กำเนิด ภาคโรมัน คือ วีนัส มีนิยายว่าด้วยกำเนิดของพระนางมากกว่าหนึ่งเรื่อง เฉกเช่นพระเจ้ากรีกโบราณหลายพระองค์ เทออกอเนียของฮีซิอัดระบุว่า พระองค์ประสูติเมื่อโครนัสตัดอวัยวะเพศของยูเรนัสแล้วโยนลงทะเล จากนั้นพระองค์กำเนิดขึ้นจากฟองสมุทร (aphros) ด้วยพระสิริโฉมงดงามของพระองค์ พระเจ้าองค์อื่นจึงเกรงว่าการชิงพระนางจะขัดขวางสันติภาพในหมู่พวกตนและนำไปสู่สงคราม ฉะนั้นซูสจึงเสกสมรสพระนางกับฮิฟีสตัส ซึ่งด้วยความอัปลักษณ์และผิดรูปของพระองค์ ไม่ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม แอโฟรไดทีมีชู้รักมากมาย ทั้งพระเจ้า เช่น แอรีส และมนุษย์ เช่น แองไคซีส (Anchises) พระองค์มีบทบาทในตำนานเอียรอสและไซคี ภายหลังเป็นทั้งชู้รักของอโดนิส (Adonis) และผู้ทดแทนมารดาของพระองค์ กล่าวกันว่าเทพชั้นรองจำนวนมากเป็นโอรสธิดาของแอโฟรไดที แอโฟรไดทียังรู้จักกันในพระนามไคธีเรีย (นายหญิงแห่งไคธีรา) และไซปริส (นายหญิงแห่งไซปรัส) ซึ่งตั้งตามชื่อแหล่งลัทธิสองแห่ง ไคธีราและไซปรัส ซึ่งอ้างว่าเป็นที่ประสูติของพระนาง กล่าวกันว่าเมอร์เทิล (myrtle) นกพิราบ นกกระจอก ม้าและหงส์ศักดิ์สิทธิ์ต่อพระนาง ชาวกรีกโบราณระบุพระองค์แอโฟรไดทีกับเทพีแฮธอร์ของอียิปต์โบราณเทพีแอโฟรไดทีเป็นหนึ่งในเทพีที่เลื่องชื่อด้านความสัมพันธ์เชิงชู้สาว พระนางได้รับบัญชาจากซูสให้สมรสกับเทพฮิฟีสตัสผู้อัปลักษณ์และพิการ ความสัมพันธ์ระหว่างเทพทั้งสองไม่ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น เทพีแอโฟรไดทีทรงมีความสัมพันธ์กับเทพและมนุษย์เป็นจำนวนมาก หนึ่งในชู้รักของเทพีแอโฟรไดทีทีคือเทพแอรีส เทพแห่งสงครามผู้เป็นพระโอรสอีกองค์ของซูสและฮีรา เทพฮิฟีสตัสทรงดัดหลังทั้งคู่โดยวางกับดักตาข่ายไว้ที่เตียงนอน เมื่อถึงเวลาเช้าที่แอรีสจะหลบออกไปจากห้องบรรทมของแอโฟรไดที ทั้งเทพแอรีสและเทพีแอโฟรไดทีจึงรู้ตัวว่าติดกับดัก และต้องทนอับอายต่อการที่ถูกเทพทั้งมวลมองดูร่างเปลือยเปล่าของทั้งคู่อยู่เป็นเวลานานสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (ฝรั่งเศส: Renaissance; อิตาลี: Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14หลังจากสงครามครูเสดอันยาวนานร่วม 300 ปีสิ้นสุดลง ยุโรปก็เข้าสู่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา โดยในช่วงแรกความรู้ทางศิลปะและวิทยาการของกรีกและโรมันได้ถูกนำเข้ามาผ่านเอกสารและหนังสือที่นักวิชาการมุสลิมในโลกอาหรับได้แปลไว้ เช่น ปรัชญาของอริสโตเติล และคณิตศาสตร์ของกรีก ต่อมาการล่มสลายของนครคอนสแตนติโนเปิล ศูนย์กลางแห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ ในช่วงกลางศตวรรษที่ 15 จากการรุกรานของสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมัน ทำให้บรรดาพระ และผู้มีวิชาความรู้ในเมืองหอบตำราสำคัญที่คัดลอกด้วยมือ (manuscripts) ต่างๆอันเป็นความรู้และสมบัติทางวัฒนธรรมที่ตกทอดมาจากอารยธรรมกรีก และโรมัน ออกมาเผยแพร่เพื่อต่อสังคมยุโรปในวงกว้าง และเนื่องจากในขณะนั้นเทคโนโลยีการพิมพ์ และการพิมพ์แบบตัวเรียง (moveable types) เพิ่งได้รับการประดิษฐ์ขึ้นโดยกูเทนเบิร์กในยุโรป ความรู้ศิลปวิทยาการในสมัยคลาสสิคจึงแพร่กระจายไปได้เร็วมาก ทำให้ยุโรปได้นำศิลปวิทยาการที่ได้รับการเผยแพร่ใหม่เหล่านี้ มาสอนในมหาวิทยาลัย ตลอดจนนำมาปรับปรุง ดัดแปลงใหม่ ทำให้ยุโรปมีความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์ทุก ๆ ด้าน อาทิเช่น ศิลปศาสตร์ ศิลปินและผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น เลโอนาร์โด ดา วินชี ผู้วาดรูปโมนาลิซา มีเกลันเจโล ผู้ปั้นรูปปั้นเดวิด ซึ่งเชื่อว่าเป็นชายที่มีสัดส่วนสมบูรณ์ที่สุดในโลก ราฟาเอลผู้กำกับการสร้างและตกแต่งมหาวิหารนักบุญเปโตร เป็นต้น เทคโนโลยี เทคโนโลยีที่สำคัญคือ เทคโนโลยีการต่อเรือ โดยชาติที่เป็นผู้ริเริ่มคือ โปรตุเกสและสเปน ซึ่งทำให้การติดต่อค้าขายกับเอเชียสะดวกขึ้น วิทยาศาสตร์ แนวคิดที่สำคัญ ได้แก่ การเล่นแร่แปรธาตุ โดยพาราเซลซัส, แนวคิดระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง โดยนิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส และความรู้ด้านการแพทย์ โดยแอนเดรียส เวซาเลียส และ วิลเลียม ฮาร์วีย์ ศิลปะเรอแนซ็องส์ (พ.ศ. 1940 – 2140) คำว่า “เรอแนซ็องส์” หมายถึง การเกิดใหม่ ซึ่งเป็นการระลึกถึงศิลปะกรีกและโรมันในอดีต ซึ่งเคยรุ่งเรืองให้กลับมาอีก ศิลปะเรอแนซ็องส์ไม่ใช่การลอกเลียนแบบจากอดีต แต่เป็นยุคสมัยแห่งการเน้นความสำคัญของลักษณะเฉพาะบุคคล มีความสนใจลักษณะภายนอกของมนุษย์ และ ธรรมชาติ เป็นแบบที่มีเหตุผลทางศีลธรรม ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการค้นหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น “สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา” โดยมีรากฐานมาจากประเทศอิตาลี และแผ่ขยายไปยังดินแดนต่าง ๆ ในยุโรป ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา คริสตจักรยังคงเป็นผู้อุปถัมภ์ที่สำคัญของเหล่าศิลปินนอกจากนี้ยังมีพวกขุนนาง พ่อค้าผู้ร่ำรวย ซึ่งเป็นชนชั้นสูงก็ได้ว่าจ้าง และอุปถัมภ์เหล่าศิลปินต่าง ๆ ด้วย ตระกูลที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น ได้แก่ ตระกูลวิสคอนตี และสฟอร์ซา ในนครมิลาน ตระกูลกอนซากาในเมืองมานตูอา และตระกูลเมดีชีในนครฟลอเรนซ์ การอุปถัมภ์ศิลปินนี้มีผลในการกระตุ้นให้ศิลปินใฝ่หาชื่อเสียง และความสำเร็จมาสู่ชีวิตมากขึ้น ผลงานของศิลปินที่มีทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ทำให้ชื่อเสียงของศิลปินหลายคน เป็นที่รู้จักทั่วโลกตลอดกาล เช่น ลีโอนาร์โด ดา วินชี มีเกลันเจโล ราฟาเอล สถานภาพทางสังคมของศิลปินเป็นที่ยอมรับกันอย่างสูงในวงสังคม เกิดสำนักศิลปะเพื่อฝึกฝนช่างฝีมือ และเกิดมีศิลปินระดับอัจฉริยะขึ้นมาอย่างมากมาย และในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยานี้เอง ที่มีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นในประเทศเยอรมนีโดย โยฮันน์ กูเทนแบร์ก เป็นผู้ผลิตนวัตกรรมชิ้นนี้ขึ้นมา ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ทำให้ศิลปะการพิมพ์ได้เริ่มมีการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างจริงจัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและจนถึงปัจจุบั
จากประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ได้แสดงให้เห็นว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์คือจักรวรรดิของชาวกรีก เมื่อคำนึงถึงอิทธิพลของภาษากรีก วัฒนธรรมกรีกและประชากรเชื้อสายกรีก แต่ประชาชนของจักรวรรดิเองนั้น มองจักรวรรดิของตนว่าเป็นเพียงจักรวรรดิโรมันที่มีจักรพรรดิโรมันสืบทอดตำแหน่งอย่างต่อเนื่องกันเท่านั้น การเริ่มต้นของจักรวรรดิไบแซนไทน์นั้นไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด โดยส่วนใหญ่ถือว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นขึ้นเมื่อจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 (ครองราชย์ ค.ศ. 306-337) แห่งโรมได้สถาปนานครคอนสแตนติโนเปิลให้เป็น “โรมใหม่” ในปี พ.ศ. 873 (ค.ศ. 330) และย้ายเมืองหลวงจากโรมมาเป็นคอนสแตนติโนเปิลแทน ดังนั้น จึงถือว่าจักรพรรดิคอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิไบแซนไทน์ไปโดยปริยาย แต่ก็มีบางส่วนถือว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นขึ้นในสมัยของธีโอโดเซียสมหาราช (ครองราชย์ ค.ศ. 379-395) ซึ่งคริสต์ศาสนาได้เข้ามาแทนที่ลัทธิเพเกินบูชาเทพเจ้าโรมันในฐานะศาสนาประจำชาติ หรือหลังจากธีโอโดเซียสสวรรคตใน ค.ศ. 395 เมื่อจักรวรรดิโรมันได้แบ่งขั้วการปกครองเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตกอย่างเด็ดขาด ทั้งยังมีบ้างส่วนที่ถือว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์เริ่มต้นขึ้น “อย่างแท้จริง” เมื่อจักรพรรดิโรมูลูส ออกุสตูลูส ซึ่งถือว่าเป็นจักรพรรดิโรมันตะวันตกองค์สุดท้ายถูกปราบดาภิเษก ซึ่งทำให้อำนาจในการปกครองจักรวรรดิตกอยู่ที่ชาวกรีกในฝั่งตะวันออกแต่เพียงฝ่ายเดียว และยังมีอีกบางส่วนที่ถือว่าจักรวรรดิโรมันได้แปลงสภาพเป็นจักรวรรดิไบแซนไทน์โดยสมบูรณ์ เมื่อจักรพรรดิเฮราคลิอุสเปลี่ยนแปลงชื่อตำแหน่งในราชการ จากเดิมที่เป็นภาษาละติน ให้กลายเป็นภาษากรีกแทน
อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนแปลงสถานะของจักรวรรดินั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงก่อนที่จักรพรรดิคอนสแตนตินจะสถาปนานครคอนสแตนติโนเปิลให้เป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิโรมันใน ค.ศ. 330 ก็ตาม ในตอนนั้นก็ได้มีการแปลงสภาพวัฒนธรรมจากโรมันเป็นกรีก รวมถึงการเปิดรับคริสต์ศาสนาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปแล้ว
การล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ โดยทั่วไปแล้ว เชื่อว่าเกิดขึ้นหลังจากที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลถูกยึดโดยสุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 แห่งจักรวรรดิออตโตมันในปี ค.ศ. 1453 โดยกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นอิสตันบูลมาจนถึงปัจจุบัน และในทางประวัติศาสตร์ยังได้ถือว่าการสิ้นสุดของจักรวรรดิไบแซนไทน์เป็นจุดสิ้นสุดยุคกลางในยุโรปอีกด้วย ในปี ค.ศ. 324 จักรพรรดิคอนสแตนตินได้สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิโรมัน ในปี ค.ศ. 330 พระองค์ทรงย้ายเมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันไปยังเมืองไบแซนทิอุม จากนั้นทรงได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นโนวาโรม หรือกรุงโรมใหม่ หลังพระองค์สวรรคตในปี ค.ศ. 337 กรุงโรมใหม่ ก็ได้เปลี่ยนเป็น คอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) เพื่อเป็นการถวายเกียรติแด่พระองค์
รูปเคารพของเทพีเรียมักอยู่คู่กับสิงโตอยู่เสมอ พระนางเป็นมารดาของเทพโอลิมเปียทั้ง 6 องค์จาก 12 องค์ตามตำนานกรีกกล่าวว่าเรียเป็นธิดาของเทพีไกอาและเทพยูเรนัส เป็นหนึ่งในเหล่าเทพไททันที่ถูกเทพยูเรนัสผู้เป็นบิดาโยนลงไปในทาทะรัสพร้อมกับเหล่าอสุรกาย และได้กลับขึ้นมาบนพื้นพิภพอีกครั้งเมื่อโครนัส ไททันองค์สุดท้องอาสาปราบยูเรนัสและยึดอำนาจของยูเรนัสมาเป็นของเหล่าไททัน ส่วนในตำนานของชาวเพลาสกันได้กล่าวว่ายูริโนมี เทพีองค์แรกได้ถือกำเนิดขึ้นและสร้างเหล่าไททันขึ้น เรียเป็นหนึ่งในไททัน มีหน้าที่ดูแลดาวเสาร์ร่วมกับโครนัสผู้ป็นสามี เรียและโครนัส ภายหลังจากการกอบกู้เหล่าไททันของโครนอส โครนัสก็ได้แต่งตั้งให้เรียเป็นชายา และเป็นราชินีของเทพทั้งปวง แต่เนื่องจากหลังจากโครนัสได้กำจัดยูเรนัสลงแล้ว ไม่ได้ช่วยเหลือเหล่าอสุรกายผู้เป็นบุตรของไกอาดังที่สัญญากับไกอาไว้ ไกอาจึงสาปให้บุตรของโครนอสที่เกิดจากเรียช่วงชิงบัลลังก์ของโครนอส เช่นเดียวกับที่โครนอสได้ช่วงชิงบัลลังก์จากยูเรนัส บุตรของเรีย เนื่องจากคำสาปของไกอา โครนอสจึงหวาดระแวงอยู่ตลอดเวลาและเมื่อเรียคลอดบุตรออกมา โครนอสก็กลืนเทพที่ถือกำเนิดขึ้นมานั้นลงไปทั้งตัว เรียได้แต่เคียดแค้น จนเมื่อบุตรองค์สุดท้องของเรียถือกำเนิดขึ้น นางก็ได้นำเทพองค์นั้น หรือซุส ไปซ่อนไว้ที่ภูเขาไอดา โดยฝากให้ไกอาเป็นผู้ดูแล และฝึกฝนซุสให้กลับไปแก้แค้นโครนัสผู้เป็นบิดา และช่วยเหลือเหล่าเทพโอลิมเปียนบุตรของนางออกมาจากท้องของโครนอสในศาสนากรีกโบราณ เฮสเตีย (อังกฤษ: Hestia; กรีกโบราณ: Ἑστία, “เตาอิฐ” หรือ “บริเวณข้างเตาไฟ”) ทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งเตาอิฐ สถาปัตยกรรมกรีกโบราณ และการจัดระเบียบกิจกรรมในบ้าน ครอบครัวและรัฐที่ถูกต้อง ในเทพปกรณัมกรีก พระนางเป็นธิดาของโครนัสและเรีย